พันธบัตร (Bond) เป็นตราสารทางการเงิน (ปกติมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป) ซึ่งออกโดยผู้ขอกู้ยืม โดยจะมีสัญญาข้อผูกมัดว่า ผู้ออกพันธบัตร (หรือผู้ขอกู้ยืม) จะต้องจ่ายผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) ให้กับผู้ถือพันธบัตร (ผู้ให้กู้) ตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพันธบัตร
พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) เป็นตราสารหนี้ทั้งระยะสั้นและยาว ซึ่งออกโดยกระทรวงการคลังและบริหารโดยธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อกู้เงินจากประชาชน ดังนั้น รัฐบาลจะอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ ส่วนผู้ที่ถือพันธบัตร ได้แก่ ประชาชน สถาบันการเงิน หรือองค์กรใดๆที่ถือพันธบัตรจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของรัฐบาล
อัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกพันธบัตร สัญญาว่าจะจ่ายให้กับผู้ถือพันธบัตรเป็นงวดๆตลอดจนกระทั่งถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน เช่น พันธบัตรที่มีราคาหน้าตั๋ว 1,000 บาท และกำหนดดอกเบี้ย 10% แสดงว่าผู้ถือพันธบัตรจะได้รับดอกเบี้ย 10 % ของเงินต้น 1,000 บาทนั่นคือ ทุกปีจะได้รับดอกเบี้ย 100 บาท นั่นเอง
พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Bond) คือตราสารหนี้ทั้งระยะสั้นและยาว ซึ่งออกโดยรัฐวิสาหกิจและบริหารโดยสำนักบริหารหนี้สาธารณะ
การให้บริการ
ตลาดแรก (Primary Market) หมายถึง ธนาคารในฐานะผู้จำหน่ายได้นำเสนอพันธบัตรให้กับผู้ลงทุนกลุ่มแรกโดยตรง ให้แก่ รัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นผู้ออกพันธบัตรนั้นๆ ตามราคาเสนอขายและดอกเบี้ยของพันธบัตร
ตลาดรอง (Secondary Market) หมายถึง การที่ธนาคารรับซื้อ-จำหน่ายพันธบัตร ที่เคยออกจำหน่ายจากตลาดแรกมาแล้วดังนั้นตลาดรองจึงมีทั้ง 2 ด้านคือ
1. ธนาคารขายพันธบัตรในตลาดรองให้กับลูกค้า
2. ธนาคารรับซื้อพันธบัตรจากลูกค้าเกิดในกรณีที่ลูกค้าที่เคยลงทุน พันธบัตรไว้และต้องการขายพันธบัตรก่อนครบกำหนด
ปัจจุบันธนาคารมีการรับซื้อ-ขายพันธบัตรในตลาดรองจำนวนหลายรุ่นดังนี้
-พันธบัตรรัฐบาล เช่น LB03OA , LB033A, LB053A, LB05OA, LB65DA และ LB05OA
-พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ เช่น ETA063 B , PTT 057 A และ PTT 087C
จุดเด่น
-เป็นการลงทุนที่ให้รายได้คงที่ ซึ่งผู้ลงทุนสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับ กระแสเงินสดรับของ ตราสาร ได้แน่นอน และสามารถลงทุนให้สอดคล้องกับแผนการบริโภคในอนาคตได้
-มีความเสี่ยงต่ำที่สุดเพราะผู้ออกคือรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
ที่มา
http://www.thaibond.com/bondmarket/thaibond.html
http://valueinvestor.orgfree.com/?p=43
http://www.scb.co.th/th/personal-banking/investment/long-term-papers/bond
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น