วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

พันธบัตร

พันธบัตร (Bond) เป็นตราสารทางการเงิน (ปกติมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป) ซึ่งออกโดยผู้ขอกู้ยืม โดยจะมีสัญญาข้อผูกมัดว่า ผู้ออกพันธบัตร (หรือผู้ขอกู้ยืม) จะต้องจ่ายผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) ให้กับผู้ถือพันธบัตร (ผู้ให้กู้) ตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพันธบัตร

พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) เป็นตราสารหนี้ทั้งระยะสั้นและยาว ซึ่งออกโดยกระทรวงการคลังและบริหารโดยธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อกู้เงินจากประชาชน ดังนั้น รัฐบาลจะอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ ส่วนผู้ที่ถือพันธบัตร ได้แก่ ประชาชน สถาบันการเงิน หรือองค์กรใดๆที่ถือพันธบัตรจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของรัฐบาล 




อัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกพันธบัตร สัญญาว่าจะจ่ายให้กับผู้ถือพันธบัตรเป็นงวดๆตลอดจนกระทั่งถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน เช่น พันธบัตรที่มีราคาหน้าตั๋ว 1,000 บาท และกำหนดดอกเบี้ย 10% แสดงว่าผู้ถือพันธบัตรจะได้รับดอกเบี้ย 10 % ของเงินต้น 1,000 บาทนั่นคือ ทุกปีจะได้รับดอกเบี้ย 100 บาท นั่นเอง

พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Bond) คือตราสารหนี้ทั้งระยะสั้นและยาว ซึ่งออกโดยรัฐวิสาหกิจและบริหารโดยสำนักบริหารหนี้สาธารณะ 

การให้บริการ

ตลาดแรก (Primary Market) หมายถึง ธนาคารในฐานะผู้จำหน่ายได้นำเสนอพันธบัตรให้กับผู้ลงทุนกลุ่มแรกโดยตรง ให้แก่ รัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นผู้ออกพันธบัตรนั้นๆ ตามราคาเสนอขายและดอกเบี้ยของพันธบัตร

ตลาดรอง (Secondary Market) หมายถึง การที่ธนาคารรับซื้อ-จำหน่ายพันธบัตร ที่เคยออกจำหน่ายจากตลาดแรกมาแล้วดังนั้นตลาดรองจึงมีทั้ง 2 ด้านคือ
1. ธนาคารขายพันธบัตรในตลาดรองให้กับลูกค้า
2. ธนาคารรับซื้อพันธบัตรจากลูกค้าเกิดในกรณีที่ลูกค้าที่เคยลงทุน พันธบัตรไว้และต้องการขายพันธบัตรก่อนครบกำหนด 
ปัจจุบันธนาคารมีการรับซื้อ-ขายพันธบัตรในตลาดรองจำนวนหลายรุ่นดังนี้
-พันธบัตรรัฐบาล เช่น LB03OA , LB033A, LB053A, LB05OA, LB65DA และ LB05OA
-พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ เช่น ETA063 B , PTT 057 A และ PTT 087C

จุดเด่น
-เป็นการลงทุนที่ให้รายได้คงที่ ซึ่งผู้ลงทุนสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับ กระแสเงินสดรับของ ตราสาร ได้แน่นอน และสามารถลงทุนให้สอดคล้องกับแผนการบริโภคในอนาคตได้
-มีความเสี่ยงต่ำที่สุดเพราะผู้ออกคือรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ

ที่มา
http://www.thaibond.com/bondmarket/thaibond.html
http://valueinvestor.orgfree.com/?p=43
http://www.scb.co.th/th/personal-banking/investment/long-term-papers/bond

ตลาดเงิน

ตลาดเงิน (Money Market)

บทบาทของตลาดเงิน 
1. เป็นตัวเชื่อมโยงระบบการเงินภายในประเทศต่างๆเข้าด้วยกัน
2. เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ต้องการใช้เงินทุน และผู้ลงทุนจากต่างประเทศต่างๆ ที่ต้องการหลีกเลี่ยงข้อจำกัดในการหาเงินทุนภายในประเทศของตนซึ่งเกิดจากกฎหมายระเบียบข้อบังคับต่างๆ ยังต้องการหาแหล่งเงินทุนที่จะให้ประโยชน์ที่ดีที่สุด

สถาบันการเงินในตลาดเงิน  
ธนาคารพาณิชย์ 
บริษัทเงินทุน
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
สหกรณ์การเกษตร
สหกรณ์ออมทรัพย์
บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย
โรงรับจำนำ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ

ตลาดเงินมีลักษณะดังต่อไปนี้
ตลาดเงิน เป็นศูนย์กลางการกู้ยืมเงินระยะสั้น
ตลาดเงิน ส่วนใหญ่มีระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 1 ปี
ใช้สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ
การกู้ยืมอาจเป็นการกู้ยืมกันโดยตรง
ธุรกรรมในตลาดเงินที่ไม่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือเอกสิทธิ์ทางการเงิน

บริการเบิกเงินเกินบัญชี (Over Draft)  
เป็นสินเชื่อที่ธนาคารยอมให้เจ้าของบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน สั่งจ่ายเงินเกินจากเงินฝากในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของตนเองได้จำนวนหนึ่ง โดยเงินจำนวนนั้นเป็นเงินของธนาคาร การสั่งจ่ายเงินนี้จะกระทำกี่ครั้งก็ได้ แต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกินวงเงินที่ธนาคาร กำหนดไว้ ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยทบต้นทุกเดือน จำนวนเงินให้กู้เบิกเกินบัญชีนี้ ธปท. กำหนดไว้ว่าให้กู้ได้ไม่เกินรายละ 30 ล้านบาท  

ตั๋วสัญญาใช้เงิน  
คือหนังสือตราสารที่บุคคลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน ในตั๋วสัญญาใช้เงิน จะมีผู้เกี่ยวข้องกัน 2 ฝ่าย คือ 1. ผู้จ่ายเงิน 2. ผู้รับเงิน ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน มีฐานะเป็นลูกหนี้ที่สัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้หรือตามคำสั่งของเจ้าหนี้ 

ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill)
คือหลักทรัพย์ที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังออกมาเพื่อกู้ยืมระยะสั้น อายุไม่เกิน 1 ปี ในการขายตั๋วเงินคลัง กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดการแทน โดยผู้ลงทุนสามารถซื้อตั๋วเงินคลังได้โดยการประมูลซื้อหรือโดยการ เสนอซื้อจากธนาคารแห่งประเทศไทย

ตั๋วแลกเงิน  คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่งซึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน ดังนั้น ในตั๋วแลกเงิน จะมีผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย คือ 1. ผู้สั่งจ่าย 2. ผู้จ่ายเงิน 3. ผู้รับเงิน


บัตรเงินฝาก หรือ เอ็นซีดี (NCD)
มีลักษณะคล้ายกับการฝากเงินแต่แทนที่จะนำเงินไปฝากไว้กับธนาคารซึ่งจะได้หลักฐานเป็นสมุดคู่ฝาก การลงทุนในบัตรเงินฝากก็จะได้รับบัตรเงินฝากเป็นหลักฐานการรับฝากแทน ข้อดีของบัตรเงินฝากก็คือมักจะให้ผลตอบแทนสูงเนื่องจากผู้ลงทุนมักเป็นลูกค้ารายใหญ่และธนาคารผู้ออกบัตรเงินฝากมีความยืดหยุ่นในการเสนออัตราผลตอบแทนมากกว่า โดยจะขึ้นอยู่กับธนาคารแต่ละแห่งว่าที่ใดจะมีข้อเสนอที่ดีกว่ากัน ธนาคารแต่ละแห่งมีอิสระที่จะกำหนดผลตอบแทนให้ลูกค้าของตนเองไม่เหมือนกับการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก นอกจากนี้ ผู้ลงทุนสามารถขายคืนบัตรเงินฝากได้ตามราคาที่ธนาคารผู้ออก หรือ dealer กำหนด

ที่มา
http://www.l3nr.org/posts/470242